NAT Thailand QuickBooks accounting software authorized reseller from Intuit, NAT Thai accounting firms in Bangkok, Phuket Thailand that provides QuickBooks services, outsourced accounting services, taxation services, bookkeeping services, QuickBooks Online Bookkeeping Services, QuickBooks Online Cloud Accounting Services, auditing services, payroll processing, Tax training and business services with Thai Accounting Standards by accounting professionals team in English to foreign and Thai SME’s.
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566
คุณศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการ Network Advisory Team Ltd. เป็นวิทยากรหลักสูตร : พัฒนาการของระบบบัญชีในยุค Digital ที่น่าจับตามอง
คุณศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการ Network Advisory Team Ltd. เป็นวิทยากรหลักสูตร :
พัฒนาการของระบบบัญชีในยุค Digital ที่น่าจับตามอง
คุณศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการบริษัท Network Advisory Team Ltd. (NAT) เป็นวิทยากรหลักสูตร : พัฒนาการของระบบบัญชีในยุค Digital ที่น่าจับตามอง จัดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ.สภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
หลักสูตรพัฒนาการของระบบบัญชีในยุค Digital ที่น่าจับตามอง รุ่นที่ 2/66
หลักสูตร “พัฒนาการของระบบบัญชีในยุค Digital ที่น่าจับตามอง รุ่นที่ 2/66”
วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566
นานาสาระว่าด้วย “คุณภาพ”จากหลักพื้นฐานสู่การปฏิบัติ
นานาสาระว่าด้วย “คุณภาพ”จากหลักพื้นฐานสู่การปฏิบัติ
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 108 ตุลาคม-ธันวาคม 2566
นานาสาระว่าด้วย “คุณภาพ”จากหลักพื้นฐานสู่การปฏิบัติ
01 "คุณภาพ” คำสั้น ๆแต่ความหมายไม่ธรรมดา
ดร.เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย
เมื่่อมืเหตุุการณ์ความเสี่ยงหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น เรามักได้อ่านหรือได้ยินว่าสาเหตุุหลักหนึ่งมาจากเรื่องของ “คุณภาพ” ซึ่งเหมือนจะชัดเจนแต่มักไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะเป็นข้อมูลในการจัดการกับประเด็นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ เนื่องจากคำว่า “คุุณภาพ”
ไม่ได้มีความหมายในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนและคงที่ ไม่ว่าจะเป็นบริบทใด (Absolute Meaning) แตุ่จะมีความหมายที่อิงกับบริบทและวัตุถุประสงค์ของเรื่องนั้น ๆ ร่วมกับการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในเรื่องดังกล่าว (Relative Meaning) เช่น ความหมายของคำว่า “คุณภาพ” ของเสื้อผ้าที่ใช้ในโรงงาน จะเน้นที่ “ความคงทนและความปลอดภัย” ทำให้มีการใช้วัสดุที่ทนทานและการตัดเย็บที่ไม่รุ่มร่ามและฝีเย็บที่ถี่และแน่นหนา ในขณะที่ “คุณภาพ” ของเสื้อผ้าเพื่อให้เช่าสำหรับงานรื่นเริงหรืองานแต่งงาน จะเน้นที่ “ความสวยงาม แก้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือขนาดได้ง่ายโดยไม่ทำให้ผ้ามีตำหนิ ทนทานเพียงระดับที่ไม่ทำให้ปริขาดระหว่างสวมใส่ในแต่ละครั้ง” ดังนั้น คำว่า “คุณภาพ” ของวิชาชีพบัญชีย่อมตุ้องมีความหมายในรายละเอียดที่ตุ่างกันตามบทบาทและประเภทของวิชาชีพบัญชี
โดยทั่วไปเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพที่มีความสำคัญกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในทุกบาทจะไม่ตุ่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์สำหรับผู้บริหารด้านบัญชีการเงิน ผู้ทำบัญชี นักวางระบบบัญชี นักบัญชีบริหาร นักบัญชีภาษีอากร อาจารย์และบุคลากรศึกษาด้านบัญชี ที่ปรึกษาทางวิชาชีพบัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน หรือผู้มีหน้าที่กำกับดูแล หรืออื่น ๆ เช่น ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัตุิงาน รวมถึงความรอบรู้ในธุุรกิจ ความโปร่งใส ความเที่ยงธุรรม และไม่อคติ ความเป็นอิสระทั้งทางจิตใจ และเชิงประจักษ์รวมถึงการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบในผลของงานรวมถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรักษาความลับ ตุลอดถึงการมีพฤตุิกรรมทางวิชาชีพที่เป็นไปตามความคาดหวังของสาธารณะ ซึ่งตัวอย่างพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การมีความเคารพในตนเองและผู้อื่น แต่จะมีเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพบางส่วนที่มีระดับความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับบางบทบาท เช่น ความเป็นอิสระที่เป็นพื้นฐานสี่ำคัญของการเป็นผู้ตุรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้ทำหน้าที่กำกับดูแล
ในการดำรงตนและสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพตามที่คาดหวังได้ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องเริ่มจาก (1) การรู้อย่างถ่องแท้ถึงความหมายของ คำว่า “คุณภาพ” ในบริบท บทบาท และวัตถุประสงค์ของงานวิชาชีพของตน ตลอดถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นจึง (2) ระบุและประเมิน “อุปสรรค” ที่จะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ความคุ้นเคยหรือเกรงใจอาจทำให้ขาดความเที่ยงธรรมหรือขาดความเอาใจใส่และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ การถูกข่มขู่ให้หวาดกลัวทำให้ไม่กล้าทำในเรื่องที่ถูกต้อง สุดท้ายเป็น (3) การวิเคราะห์และระบุมาตรการป้องกันและจัดการกับอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งแนวทางข้างต้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ไม่เฉพาะกับการระบุวัตถุประสงค์และความเสี่ยงด้านคุณภาพของกิจกรรมต่าง ๆ ในสำนักงานและงานให้บริการวิชาชีพบัญชี เช่น การตอบรับลูกค้าและงานเท่านั้น แต่รวมถึงสามารถใชัประกอบการพิจารณาในการเลือกสมัครงานและตอบตกลงเข้าทำงานด้วย
02 คำว่า “คุณภาพ” เป็นคุุณภาพของใครกัน
นางสุวิมล กุลาเลิศ
ทุกวันนี้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชี นักบัญชี CFO ผู้สอบบัญชี นักวางระบบบัญชี คงจะสงสัยกันว่าเหตุใดคำตอบของคำถามที่ถามว่า คำว่า “คุณภาพ” เป็นคุณภาพของใครกัน จึงมีคำตอบที่แตกต่างกันหลากหลายไปตามระดับของความมีจรรยาบรรณของแต่ละบุคคล อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คำตอบที่แสดงถึงความมีคุณภาพแบบมืออาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงไม่เหมือนกัน
อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ CFO บางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องตกแต่งตัวเลขของงบการเงินให้มีกำไรเกินจริง เพราะเจ้านายสั่ง ตนเองเสียใจมากที่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียหายหนัก เนื่องจากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ผู้ทำบัญชีบางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องใช้นโยบายลงบัญชีแบบหลบเลี่ยงภาษี เพราะเจ้านายสั่ง มิฉะนั้นตนเองก็อยู่ในองค์กรนี้ไม่ได้
อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้นักวางระบบบัญชีบางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องสร้างระบบบัญชีให้กับกิจการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชน เนื่องจากเจ้านายสั่ง ตนเองกลุ้มใจมากเพราะไม่ต้องการทำร้ายประชาชนให้สูญเสียเงิน
ทุกวันนี้ CFO บางราย ผู้ทำบัญขีบางราย นักวางระบบบัญชีบางราย ปฏิบัติหน้าที่ก็เพียงเพื่อความอยู่รอดของตนเองเท่านั้น หรือคำตอบ
ของทุกคำถามมาลงที่ความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณได้จืดจางลงจนแทบเหือดหายไป คุณภาพที่ควรมีเพื่อองค์กร เพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสังคม เพื่อประชาชนส่วนรวม เพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อความยั่งยืนถาวร กลับกลายเป็นความไร้จริยธรรม ไร้จรรยาบรรณ ไร้คุณภาพ จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องฟื้นฟู สร้างใหม่ และยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีบัญชีขึ้นมาอย่างจริงจัง ก่อนที่จะสายไป
03 คุุณภาพคือความยั่งยืนของสำนักงานบัญชี
นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ
สำนักงานบัญชีส่วนหนึ่งมักจะเริ่มธุรกิจและพยายามหาลูกค้าด้วยกลยุทธ์การตัดราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า ราคาต่ำสุดที่เคยเห็นคือ ราคาเดือนละ 500 บาท ก็ยังมี คิดดูว่าแค่เงินเดือนเริ่มต้นของพนักงานปริญญาตรีบัญชี ถ้า 15,000 บาท ต้องรับทำถึง 30 รายจึงจะแค่คุ้มทุน ซึ่งจะถามหาคุณภาพในงานที่ทำคงไม่มี ที่เคยพบเจอคือการเอาตัวเลขมาบันทึกใน Excel แทนการบันทึกผ่านระบบบัญชี หรือการยื่นภาษีมักจะไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้ประ กอบการที่หวังจะประหยัด เลือกราคามากกว่าคุณภาพ มักจะจบลงด้วยการต้องจ่ายภาษีและค่าปรับย้อนหลังเป็นจำนวนมหาศาลจนธุรกิจเกือบจะไปต่อไม่ได้ก็จะตระหนักและวิ่งหาสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพมาทดแทน เป็นแบบนี้เรื่อยไป ดังนั้น ถ้าจะทำธุรกิจสำนักงานบัญชีให้ยั่งยืนจึงต้องทำอย่างมีคุณภาพ และจะน่าเชื่อถือมากขึ้นถ้ามีองค์กรที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง นั่นก็คือ โครงการสำนักงานบัญชีคุณภาพ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนำ Model จากธุรกิจสำนักบัญชีชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นมาออกแบบโครงการนี้
คุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิ์จะเข้าร่วมโครงการ
- เป็นสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีไม่น้อยกว่า 30 ราย และประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายและต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีโดยปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณืด้านการทำบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว
- มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี โดยปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 1 คน
- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- กรณ๊ที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามข้อที่ 2 ด้วย
สำนักงานบัญชีที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมในโครงการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีสามารถยื่นแบบคำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือ Download แบบฟอร์มได้ที่ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
04 “คุุณภาพ” ที่วิชาชีพบัญชีต้องการ และผนึกกำลังยกระดับ “คุุณภาพ” เพิ่อวิชาชีพบัญชี
นางวารุณี ปรีดานนท์
คุณภาพที่วิชาชีพบัญชีต้องการครอบคลุมมีหลายด้านเพื่อให้สามารถประสบตวามสำเร็จและยกระดับวิชาชีพนี้ได้ นี่คือคุณภาพหลักที่วิชาชีพบัญชีต้องการ
1. ความสามารถในการจัดการเวลาและการวางแผน:
นักบัญชีต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีได้อย่างดีมาก เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบงบการเงินของแต่ละบริษัท
2. ความรอบคอบและความระมัดระวัง:
ความพยายามในการทำงานที่แม่นยำและละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ข้อมูลบัญชีและการเงินถูกต้องตามข้อกำหนดและหลักการทางบัญชี
3. ความคิดริเริ่มและวิเคราะห์:
การมองเห็นและวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อให้มีการตัดสินใจที่มีความเป็นระบบและถูกต้อง
4. ความรู้ทางกฎหมายและข้อบังคับ:
ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับและการรายงานที่เกี่ยวข้อง เป็นระบบและถูกต้อง
5. ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี:
ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์บัญชีและเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี
6. ความสามารถในการจัดการเวลาและการวางแผน:
การสามารถจัดการกับงานหลายอย่างพร้อมกัน และวางแผนการดำเนินงานเพื่อความเรียบร้อยและความสำเร็จของโครงการ
7. ทักษะการสื่อสาร:
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งเขียนและพูด เพื่อแสดงผลการวิเคราะห์บัญชี และข้อมูลการเงินให้กับผู้อื่นในองค์กร
8. ความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ และซื่อสัตย์:
การปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความรับผิดชอบ มีความอิสระ และซื่อสัตย์ ต่อทรัพย์สินและข้อมูลทางบัญชี รวมถึงการแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน โดยไม่เกรงใจและเกรงกลัวต่อความสัมพันธ์กับผู้บริหาร
9. คุวามเข้าใจในธุรกิจและมุมมองกว้าง:
การเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการให้บริการ และการมองเห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมทางบัญชีและวัตถุประสงค์ธุรกิจ
10. การทำงานเป็นทีม:
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีมหรือกลุ่มงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
11. ความพร้อมในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง:
ความคล่องแคล่วในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพและการพัฒนาทักษะใหม่เพื่อความเชื่อมั่นในการประสบความสำเร็จในอนาคต
การพัฒนาคุณภาพเหล่านี้ สามารถทำได้ผ่านการศึกษาต่อหรือการอบรมทางวิชาชีพ เป็นต้น อีกทั้งการสะสมประสบการณ์ทำงานในสายอาชีพบัญชีจะช่วยเสริมคุณภาพเหล่านี้อีกด้วย
05 “คุุณภาพ” ห้วใจของวิชาชีพบัญชี
นางบุษกร ธีระปัญญาชัย
การทำบัญชีเป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการดำเนินธุรกิจทุกขนาด เมื่อเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน แน่นอนว่า "ความเชื่อถือได้" จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำบัญชีนั้นมีความน่าเชื่อถือ
"คุณภาพ" จึงเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบวิชาชีพบัญชี กระบวนการทำงานให้มีคุณภาพในการจัดทำบัญชี เริ่มที่การเข้าใจในลักษณะของธุรกิจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การทำบัญชีสามารถสะท้อนภาพทางการเงินของธุรกิจนั้นได้อย่างชัดเจน ถัดไปคือการเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อสามารถรวบรวมช้อมูล หลักฐาน และเอกสารได้อย่างครบถ้วนถูกต้องจากนั้นต้องสามารถประเมินปัญหาที่มีหรือที่อาจจะเกิดขึ้น(Risk) เพื่อเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อธุรกิจนั้น และนำข้อมูลที่ได้ก่อนหน้ามาออกแบบกระบวนการ วิธีการ เอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้ เพื่อนำไปสู่การวางแนวทาง การตรวจสอบที่ชัดเจน เทคนิคที่ต้องใช้ และเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อให้มีแนวทางและวิธีการทำงานไปสู่ผลสัมฤทธิ์โดยต้องประกอบกับการประยุกต์กับหลักการหรือมาตรฐานทางบัญชีหรือภาษี เพื่อให้การจัดทำบันทึกบัญชีเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับตามหลักการของสากลและสุดท้ายกำกับดูแล ทบทวน ติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ เพื่อเท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถได้ข้อสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ แน่นอนว่าไม่เพียงมีกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพเท่านั้น การเปิดใจรับฟังความเห็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิด สอดคล้อง และการเจรจาต่อรองที่ได้ผล ล้วนประกอบกันเป็นการทำงานที่มี "คุณภาพ" ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี อ้างอิง: https://shorturl.asia/7rvEY
06 “ยกระดับคุณภาพของการวางระบบบัญชี” เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กร
รศ. ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะ
ผลลัพธ์ของการยกระดับคุณภาพของการวางระบบบัญชี คือ การให้ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศที่มีคุณภาพในการนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน คือ เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ข้อมูลสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 7 กลุ่ม ประกอยด้วย ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน สังคม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และคู่แข่ง เพื่อให้ข้อมูลครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ (Environmental,Social,Governance: ESG) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้กำหนดหลักการและแนวคิดการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน (Sustainability Management Process) หลักการของเรื่องนี้ คือ การที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ มี 5 กระบวนการ กล่าวคือ
กระบวนการที่1
การวิเคราะห์บริบท ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร (Materiality)
กระบวนการที่2
การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร (Policy)
กระบวนการที่3
การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร (Strategy)
กระบวนการที่4
การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation)
กระบวนการที่5
การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Disclosure)
อ้างอิง: https://shorturl.asia/SFdOL
07 “วางระบบบัญชีให้มีคุณภาพ” คือ คุณค่าหลักของมืออาชีพการวางระบบบัญชี
รศ.ศรัณย์ ชูเกียรติ
คำจำกัดความของมืออาชีพการวางระบบบัญชี (Accounting systematisation Professional) ตามที่คณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี วาระปี 2563-2566 ได้ให้ไว้ในโครงสร้างหลักสูตรมืออาชีพการวางระบบบัญชี (Open Curriculum Framework) ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี หมายถึง "ผู้ที่มีความรอบรู้ และความเชี่ยวชาญการวางระบบบัญชี มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอย่างที่คาดหวังโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีไหวพริบในการปฏิบัติงานและการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่องานที่ต้องทำและต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความมุ่งมั่นตั้งใจและการลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพและมีคุณค่ามีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน ตลอดถึงมีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจและสังคม" บ่งชี้ให้เห็นว่า นอกจากมีคุณสมบัติสำคัญที่พึงมีแล้ว มืออาชีพการวางระบบบัญชีต้องสามารถวางระบบบัญชีให้มีคุณภาพ เพื่อทำให้องค์กรมีระบบบริหารจัดการข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การกำกับดูแล และการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก โดยระบบบัญชีที่มีคุณภาพและคุณค่านั้น ต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมและความต้องการขององค์กรตั้งแต่ระดับกลยุทธ์จนถึงระดับปฏิบัติการ และสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน รวมถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีจริยธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
08 คณะกรรมการตรวจสอบในมุมมองของคุณภาพการวางระบบบัญชี
นายอนุวัฒน์ จงยินดี
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือการสอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ คณะกรรมการตรวจสอบนอกจากมีสำนักงานตรวจสอบเป็นผู้ช่วยเป็นอิสระขึ้นตรงแล้ว CEO CFO ทีมบัญชี การเงิน ทีมระบบสารสนเทศ ผู้สอบบัญชีภายนอก และอื่นๆ ก็เป็นส่วนสำคัญทำให้รายงานทางการเงินถูกต้องและเปิดเผยเพียงพอ
คณะกรรมการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ และจะประเมินบุคคลและทีมที่กล่าวข้างต้นว่ามีคุณภาพ สามารถสร้างคุณค่าให้บริษัทได้อย่างดี คณะกรรมการตรวจสอบไม่ชอบมีวาระหรือเหตุการณ์ที่ Surprise บ่อยๆ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่มาหารือกันก่อนการประชุม คุณภาพที่ดีอีกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือคุณภาพของการวางระบบบัญชีที่ดี การออกแบบระบบบัญชี การใช้ระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ให้มีการ Check and Balance มีระบบควบคุมภายในที่ดี มีคู่มือและทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มีกระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีการออกแบบให้บันทึกรายการตามความเป็นจริง มีเอกสารประกอบที่น่าเชื่อถือถูกต้อง มีผู้อนุมัติที่พิจารณาข้อมูลก่อน ออกแบบบันทึกรายการทางกฎหมาย ระเบียบ ที่สำคัญคือ การบันทึกรายการเกี่ยวโยง เกี่ยวข้อง เพือดึงข้อมูลมาทดสอบรายการเกี่ยวโยงให้ง่าย รวดเร็ว เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ การออกแบบระบบที่ดีมีคุณภาพ ช่วยในการตรวจหรือดึงข้อมูลสารสนเทศค้นหาการกระทำทุจริต และเกิดแนวคิดเชิงป้องกัน หรือข้อมูลที่สำคัญมากในขณะนี้ก็คือ การบันทึกข้อมูลต่างๆ ในเรื่อง ESG ความยั่งยืน เพื่อนำมาเปิดเผยในรายงาน One Report และหรือ Sustainability Report ผู้สอบบัญชีภายนอกก็ใช้ข้อมูล จากการวางระบบบัญชี สารสนเทศ การบันทึกรายการ ทดสอบ ประมวลผล ออกรายงาน การเปิดเผยตามมาตรฐานวิชาชีพ
นี่แหละคือความมั่นใจของคณะกรรมการตรวจสอบต่อการวางระบบที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้บริษัทมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดย คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี วาระ 2563-2566
ดร.เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย
นางสุวิมล กุลาเลิศ
นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ
นางวารุณี ปรีดานนท์
นางบุษกร ธีระปัญญาชัย
รศ. ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะ
รศ.ศรัณย์ ชูเกียรติ
นายอนุวัฒน์ จงยินดี
Newsletter • Issue 108 Page 15-18