หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

WORK FROM HOME อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?


WORK FROM HOME อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 89 เดือนพฤษภาคม 2563





WORK FROM HOME อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
เราเคยคุุยกันก่อนหน้านี้แล้วว่าแนวโน้มของโลกนั้นคนรุ่นใหม่จะไม่นิยมทำงานแบบแปดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น แต่จะนิยมการทำงานแบบเป็น Freelance ผ่านออนไลน์ ซึ่งเราก็คงมองว่ายังเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ Covid-19 ที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้องค์กรต่าง ๆ Work from Home (WFH) เพื่อความปลอดภัยของทุกคนและสังคม เราจึงจำเป็นต้องกลับมาทบทวนเรื่องนี้กัน เท่าที่ได้ยินมาวงการนักบัญชีและสำนักงานบัญชีดูจะปรับตัวกับ WFH ยากที่สุุด เพราะเรามีงานเอกสารมากมายและส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ใช้ระบบบัญชี บน Cloud ผู้เขียนแอบเห็นเจ้าของสำนักงานบัญชีแห่งหนึ่ง Comment ใน Social ว่า เขากังวลว่าถ้าให้ทีมงาน WFH การทำงานจะไม่มีประสิทธิภาพเพราะอยู่ไกลสายตา บ้างก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะระบบบัญชียังไม่รองรับ อีกทั้งเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ลูกน้องขนเอกสารที่มีอยู่มากมายกลับไปทำที่บ้าน

พอดููแนวโน้มการแพร่ไม่หยุดของ Covid-19 ว่าจะต้องมีการ  WFH ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของเรา ผู้เขียนก็เริ่มศึกษาข้อมูลจาก Best Practice ใน Google แล้วก็นำมาปรับใช้กับบรรยากาศการทำงานของกิจการ ซึ่งขอนำมาแบ่งปันกัน ในแง่มุมของการทำงานของสำนักงานบัญชี ซึ่งอาจจะนำไปใช้กับงานในแผนกบัญชีได้เช่นกัน ดังนี้

1. ก่่อนอื่นควรกำหนดให้ตรงกันก่อนว่าเราจะใช้ Program หรือ Application อะไรในเรื่องต่าง ๆ

ในการสื่อสารกันระหว่างทีมงานในช่วง WFH
ผู้เขียนเลือกใช้ Skype ที่ดูจะเป็นเชิงธุรกิจ ในการสื่อสารกับทีมงาน โดยตั้งกลุ่มขึ้นมาในการสื่อสาร ทั้งกลุ่มรวมทั้งบริษัท และกลุ่มแยกตามแผนก หากเราไม่สะดวกอาจจะเลือกใช้ LINE ที่ส่วนใหญ่คุ้นชินก็ทำได้
ในการประชุุมกับทีมงานและลููกค้า
สำหรีบการประชุมแบบ VDO conference นั้น Program ที่ลูกค้านิยมใช้ คือ Zoom เราจึงกำหนดการประชุมทีมงานให้ใช้ Zoom เช่นกัน เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้การใช้งาน Program Zoom นั้นสามารถใช้ฟรีแต่ต้องใช้เวลาประชุมไม่เกิน 40 นาที และ จำนวนผู้เข้าประชุมไม่เกิน 100 คนต่อครั้ง ซึ่งก็เกินพอและนับว่าเป็นการดีที่บีบให้มีการประชุมที่กระชับมากขึ้น ข้อดีของ Zoom คือเราสามารถ Present งานระหว่าง การประชุุมได้ด้วย และเห็นหน้ากับทุกคน และตอบโต้กันได้เลย ส่วนLINEก็ใช้VDO ConferenceและPresentได้แต่จะเห็นหน้ากันแบบชัดๆได้สูงสุด 6 คนเท่านั้น
ในการทำบัญชี
เราคงต้องเริ่มที่จะเลือกดู Program บัญชีแบบ Cloud ที่จะรองรับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ แต่แค่ Program คงไม่พอ เราจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้สามารถรองรับการ WFH ด้วย
สำหรับผู้เขียนนั้น มีการใช้ QuickBooks Online ทำงานร่วมกับลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่ง Program สามารถรองรับการ Scan เอกสารแนบไว้กับการลงบัญชี ซื้อ ขาย รับ จ่าย แต่ละรายการ ที่ผ่านมาจึงได้กำหนดให้ลูกค้าเป็นผู้ Scan เอกสารแนบไว้ให้เราไว้เลยในแต่ละเดือน แล้วจึงส่งเอกสารตัวจริงมาให้เช็คความถูกต้องและใช้ในการจัดทำภาษี  และเราโชคดีที่มีการปิดบัญชีเดือนต่อเดือน เมื่อเจอการที่จะต้องปิดบัญชีปี ในช่วง Covid-19 เราจึงทำงานได้แบบสบาย ๆ ไม่เครียดเหมือนเพื่อน ๆ สำนักงานบัญชีหลายรายที่ยังตามใจลูกค้าให้ส่งเอกสารแบบมาเรื่อย ๆ จนต้องระดมปิดปีละครั้ง ซึ่งในยามปกติก็ทำได้แต่ถ้าต้อง WFH  นั้นเป็นไปไม่ได้เลย หากมีเคอร์ฟิว 24 ชม. จริง ๆ คงต้องให้ลูกน้องนอนพักที่สำนักงานแทนกันเลย
2.การสื่อสารกับลููกค้าและคู่ค้า
สิ่งที่สำคัญในช่วง WFH คือ ลูกค้า-คู่ค้ายังต้องติดต่อเราได้เหมือนเดิม เราจึงต้องกำหนดหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่จะให้ลูกค้าติดต่อมาและผู้รับผิดชอบที่จะคอยรับสายและรายงานเข้ามาในห้องรวมใน Skype เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องติดต่อกลับ และต้องแจ้งผ่านทุกช่องทางที่มี
 (Email, Website, Line Official, FB Fanpage) ว่าช่วง WFH ลูกค้าจะสามารถติดต่อเราด้วยช่องทางใดได้บ้าง ระหว่าง WFH นั้นการประชุมกับลูกค้าคือยังทำได้ตามปกติผ่าน Program Zoom นั้นเอง

3.การบริหารงานและทีมงาน
กำหนดเป้าหมายและวัดผลงานที่ผลสำเร็จของงาน
การ WFH นั้นเราต้องปรับเปลี่ยนความคิดของเราจากการที่ต้องเห็นพนักงานตัวเป็น ๆ มานั่งทำงานให้เราเห็นให้ครบ 8 ชม. มาเป็นการตั้งเป้าหมายการทำงานที่เหมาะสม กำหนดวันที่ต้องทำงานเสร็จแล้ววัดกันที่ผลสำเร็จของงานแทน
ระหว่าง WFH นั้นเราควรกำหนดให้พนักงานเข้ามารายงานตัวใน Skype ทุกเช้า เพื่อให้ทุกคนยังรู้สึกว่ายังอยู่ในบรรยากาศการทำงานและทุกเย็นให้สรุปเป็นรายงานส่งมาว่าวันนี้ได้ทำอะไรบ้าง

จัดให้มีการประชุม VDO Conference ระหว่างทีมงานเป็นครั้งคราว เพื่อติดตามผลงานและเพื่อให้มีบรรยากาศของการทำงานร่วมกันซึ่งควรกำหนดรูปแบบของบรรยากาศโดยรอบและการแต่่งกายให้เหมาะสม ระหว่างประชุุม
กำชับทีมงานให้มีการตอบกลับภายใน 15-30 นาที หากได้รับการติดต่อจาก ทีมงาน ลูกค้าหรือ คู่ค้า
เปิดโอกาสให้ทีมงานมีการพูดคุยตามปกติหรือมีกิจกรรมผ่อนคลายทายปัญหา หรือเล่นเกมส์ผ่านห้องSkype เสมือนหนึ่งที่เขาได้คุยกันในช่วงพักเบรคหรือทานข้าวกลางวันเพื่อไม่ให้แต่ละคนรู้สึกโดดเดี่ยว 
หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์บ้าง แต่สำหรับผู้เขียนยังมองเห็นว่าต้องนำไปขบคิดต่อเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกหลายเรื่อง เรื่องที่สำคัญคือการจัดทำภาษีแบบ WFH คงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานทั้งของเรา ของลูกค้า และอาจจะต้องนำเสนอต่อกรมสรรพากร ให้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สามารถมีการทำงาน WFH ที่ราบรื่นกันทุกฝ่ายได้มากขึ้น

ผลที่ได้ในทางอ้อมแต่เป็นประโยชน์มากคือวิกฤตครั้งนี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ ว่าบนความไม่แน่นอนต่าง ๆ เราควรจะเริ่มปรับตัวจากการจ้างพนักงานประจำเป็นการจ้างแบบ Freelance ให้มากขึ้นเพื่อที่เราจะไม่ต้องเครียดกับการแบกภาระเรื่องคน หากพบวิกฤตอีกในครั้งต่อไป ส่วนพนักงานของเราก็ได้เริ่มเรียนรู้การ WFH และวันหนึ่งถ้าเขาสนใจ เราอาจจะเปิดโอกาสให้สามารถเปลี่ยนจากพนักงานประจำไปแบบมีอิสระด้วยการทำงานแบบ Freelance เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน สวัสดีค่ะ
         
โดย นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ
กรรมการ ในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี

Newsletter • Issue 89 Page 9-10

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.thaiaccounting.com/article

www.thaiaccounting.com
Network Advisory Team Ltd. (NAT)
Due to Covid-19 Social distance policy, we are working from home but our services still remain, please contact us according to the info below:
เพื่อให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการระงับการแพร่กระจายของ Covid-19 ทีมงานของเราจึงทำงานจากที่บ้านแต่ท่านสามารถติดต่อหรือประสานงานได้ ตามข้อมูลการติดต่อด้านล่าง
QuickBooks software : Tel. Chusana (PUI) 081 732 4733 Thitinan (KAT) 092 659 7772 Panupong (MO) 083 077 4694
Accounting & tax services : Tel. 081 820 2039
Email : info@thaiaccounting.com
Line : @natthaiac

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ทำไม Google จึงเห็นความสำคัญของการเจริญสติ (Mindfulness) จนถึงขนาดบรรจุไว้ในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร


ทำไม Google จึงเห็นความสำคัญของการเจริญสติ (Mindfulness) จนถึงขนาดบรรจุไว้ในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 88 เดือนเมษายน 2563







ทำไม Google จึงเห็นความสำคัญของการเจริญสติ (Mindfulness) จนถึงขนาดบรรจุไว้ในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร
ในประเทศไทยซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธเราเติบโตและคุ้นเคยกับคำว่าสมาธิ (Meditation) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการฝึกหรือเจริญสติเช่นกัน คนส่วนใหญ่มองสมาธิเป็นเรื่องของชาวพุทธ และเนื่องด้วยการทำสมาธิที่เราเห็น มักจะเป็นหลักสูตรที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-7 วัน และจัดตามวัดวาอารามเป็นหลัก ผู้ที่จะเสียสละเวลาไปเข้าหลักสูตรได้มักจะเป็นผู้สูงอายุ หรือถ้าเป็นวัยหนุ่มสาว ก็จะถูกมองว่าต้อง อกหัก รักคุดหรือมีปัญหาชีวิตอะไรบางอย่าง คนหนุ่มสาว วัยทำงานทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ห่างไกลวัดจึงไม่นิยม หรืออาจจะรู้ว่าสมาธิเป็นสิ่งที่ดีแต่ ตอนนี้ยังไม่มีเวลา รอให้สูงวัยก่อนนะค่อยพิจารณาอีกที

ในขณะที่คนหนุ่มสาววัยทำงานในประเทศไทย มองข้ามการทำสมาธิเพราะมองว่าเป็นเรื่อง “เสียเวลาทำมาหากิน”

ในซีกโลกตะวันตกก็เป็นข่าวฮือฮาว่า บริษัท Google : Search engine ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาได้บรรจุหลักสูตร Mindfulness (การเจริญสติ) ในการพัฒนาบุคคลากรซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวะกรคอมพิวเตอร์ระดับหัวกระทิของโลก

ผู้ริเริ่มหลักสูตรนี้คือ Mr. Chade Meng Tan พนักงานอันดับที่ 107 ของ Google ซึ่งเป็นชาวจีนจากประเทศสิงคโปรค์ที่สนใจการปฏิบัติธรรมตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา

หลักสูตรเจริญสติของ Google มีชื่อว่า Search Inside Yourself ซึ่งน่าจะเป็นการล้อเลียนกับการเป็นยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine ที่ผู้คนต่างใช้ในการค้นหาสารพัดความรู้นอกกาย แต่หลักสูตรนี้กลับมุ่งหวังให้มีการกลับมาค้นหาความจริงในตัวเอง คือ “การมีสติอยู่กับปัจจุบัน-รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น -โดยไม่ตัดสินมัน” โดยมีพัฒนาการ เป็น 3 ขั้นตอน คือ
  1. Attention Training
    ฝึกให้มีสติจดจ่ออยู่กับปัจจุบันทำให้เกิดสมาธิและผ่อนคลาย ด้วยการเพ่งความสนใจไปที่ “ลมหายใจ” และเมื่อไหร่ที่รู้ตัวว่าใจลอยไปคิดเรื่องอดีตหรือกังวลกับอนาคตก็ให้ดึงกลับมาจดจ่อกับลมหายใจใหม่เป็นวงจรตามภาพด้านบน ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ สติก็จะถูกฝึกให้แข็งแกร่งและอยู่กับลมหายใจได้นานขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนา Emotional Intelligence (EQ : ความฉลาดทางอารมณ์) ที่จำเป็นมากในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จนปรับตัวไม่ทัน และต้องการสติในการรับมือกับ ทั้ง Covid 19 ความกดดันด้านเศรษฐกิจและปัญหาจากสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่อาจควบคุมและคาดเดาล่วงหน้าได้ เช่น เหตุการณ์ที่โคราช เป็นต้น
  2. Self-Knowledge and Self - Mastery
    เมื่อมีสติที่แหลมคมขึ้น เราจะเริ่มมองเห็น ตัวตน ความคิดและอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจน “ตามความเป็นจริง” ซึ่งทำให้เราเริ่มรู้จักและยอมรับว่าตัวเอง ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนตรงไหน จนสามารถนำไปพัฒนาตนเองควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น และเมื่อเราเข้าใจตนเองดีขึ้น เราจะเริ่มเข้าใจและรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้นจึงทำให้สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานดีขึ้น ทำให้มีความสุขในการทำงาน เมื่อมีความสุขและสมองโปร่งโล่งสบาย จึงสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น

     
  3. Creating Useful Mental Habits
    ฝึกให้ รู้จักการให้ และมีเมตตามากขึ้น กระแสแห่งความเมตตาจะแผ่ขยายจนผู้อื่นรู้สึกได้ จึงเกิดความไว้ใจและความร่วมมือที่ดีในสังคมการทำงาน
            
Mr.Meng กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ “ความต่อเนื่อง” และคุณภาพของการฝึกเพียงใช้เวลาเพียงวันละ 1-2 นาที เป็นอย่างน้อย ลองฝึกไปเรื่อย ๆ สัก 100 นาที (แค่วันละ 1 นาที ก็คือประมาณ 3 เดือน อย่างต่อเนื่อง) คุณจะเห็นผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง จากผลสำรวจพบว่าผู้ที่ผ่านการอบรมและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะมีสติอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น มีการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้น เป็นผู้นำที่มีความเมตตา และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าการเจริญสติหรือทำสมาธิกลายเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบุคคลากรในหลาย ๆ ด้านที่กล่าวมาโดยไม่จำกัดว่าจะนับถือศาสนาใด และนอกจาก Google แล้วยังมีองค์กรชั้นนำของโลกอีกมากมายที่ใช้การเจริญสติมาช่วยในการพัฒนาบุคคลากรในองค์กร ไม่เว้นแม้แต่เจ้าพ่อทางด้านไอที อย่าง Steve Jobs, Bill Gates ก็ให้ความสำคัญกับการทำสมาธิ เช่นกัน
            
ในเมื่อการเจริญสติ มีประโยชน์มากมาย และเราก็ได้เรียนรู้วิธีง่าย ๆ ที่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองในเวลาที่สะดวกโดยไม่ต้องไปฝึกแบบ 3 วัน 7 วัน ตามวัดวาอารามที่เราไม่สะดวก เพียงสละเวลาเพื่อตัวเองวันละ 1-2 นาที ทำอย่างถูกวิธีและต่อเนื่องเท่านั้น นักบัญชีอย่างพวกเรา ที่มีความเครียดในการทำงานไม่น้อยกว่าวิศวะกรคอมพิวเตอร์และเป็นที่รู้ (กล่าวหา) กันว่ามักจะมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร จะรออะไร มาลองฝึกเจริญสติโดยเริ่มที่ตัวเองก่อน เพียงฝึกให้ครบ 100 นาที ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน เมื่อเห็นผลจะได้นำไปใช้กับลูกน้องหรือบุคคลากรอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสันติสุขและความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร
โดย นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ
กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี
Newsletter • Issue 88 Page 8-10

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.thaiaccounting.com/article