ภาพบรรยากาศงาน SME ต้องรู้ บัญชี 4.0 ทำเป็นเห็นทางรวย! EXCLUSIVE WORKSHOP
โดย คุณศิริรัฐ โชติเวชการ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาด้านบัญชี จาก Network Advisory Team Ltd. (NAT)
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 ณ. M Academy Big C ราชดำริ
NAT Thailand QuickBooks accounting software authorized reseller from Intuit, NAT Thai accounting firms in Bangkok, Phuket Thailand that provides QuickBooks services, outsourced accounting services, taxation services, bookkeeping services, QuickBooks Online Bookkeeping Services, QuickBooks Online Cloud Accounting Services, auditing services, payroll processing, Tax training and business services with Thai Accounting Standards by accounting professionals team in English to foreign and Thai SME’s.
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
SME ต้องรู้ บัญชี 4.0 ทำเป็นเห็นทางรวย! EXCLUSIVE WORKSHOP โดย คุณศิริรัฐ โชติเวชการ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาด้านบัญชี จาก Network Advisory Team Ltd. (NAT)
วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561
6 ข้อดี เมื่อเป็น ระบบบัญชีออนไลน์
6 ข้อดี เมื่อเป็น ระบบบัญชีออนไลน์
วารสาร K SME Inspired ฉบับ ตุลาคม 2561
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ
6 ข้อดี เมื่อเป็น ระบบบัญชีออนไลน์
ความน่าสนใจ
- ข้อจำกัดของการทำบัญชีระบบเดิมที่มีมากมาย เช่น การรวบรวมข้อมูลตัวเลขที่กระจายอยู่กับฝ่ายต่างๆ ซึ่งยากต่อการอัปเดต
- ยิ่งนานวันเอกสารที่สะสมเพิ่มจำนวนทำให้การปิดงบล่าช้า ส่งผลหลายๆ เรื่อง หนัก-เบา ต่างกันไป เช่น ถูกสรรพากรตรวจสอบต้องจ่ายภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับมหาโหด หรือลูกน้องคนขยันโกงเงิน กลายเป็นปัญหาที่วนเวียนแบบนี้ปีแล้วปีเล่า
- ขอเพียงนับหนึ่ง เริ่มต้นปฏิวัติการทำบัญชีชุดเดียวบนโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป
การทำบัญชีแบบเดิมๆ ในวงการธุรกิจนั้น ความน่าสนใจเหมือนเนื้อร้ายที่ฝังตัวอยู่ในธุรกิจ รอวันที่จะโผล่ออกมาให้เห็นแบบ Surprise Shock ขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นมะเร็งระยะไหน รักษาได้หรือไม่ ใช้ยาแรง ขนาดไหน ทั้งนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะมีการทำบัญชีในโมเดลคล้ายๆ กันคือ มีบัญชีภายใน กับบัญชีสรรพากร
บัญชีภายใน คือ การออกบิลขาย บันทึก บัญชีซื้อ ทำบัญชีเงินรับ-จ่าย ตัดลูกหนี้ เจ้าหนี้ ทุกๆ วัน เจ้าของกิจการก็จะสนใจแต่ตัวเลข เงินเข้า-ออก นานๆ ทีก็จะให้ฝ่ายบัญชีเก็บตัวเลข บัญชีกำไร-ขาดทุนด้วย Excel ออกมาดูซึ่งก็จะได้ ตัวเลขคร่าวๆ เพราะตัวเลขกระจายอยู่กับฝ่ายต่างๆ และไม่ Up to Date เพราะทุกฝ่ายก็จะอ้างว่า งานเยอะ คนไม่พอ ไม่มีเวลาบันทึกเอกสาร ที่กองอยู่บนโต๊ะ เมื่องานเยอะ-คนน้อย ปัญหาอีกอย่างที่ตามมาคือ พนักงานบัญชีทั้งระดับหัวหน้า และลูกน้องผลัดกันเข้า-ออกเพราะทนต่อความกดดันในการทำงานไม่ไหว เจ้านายก็เลยไม่ค่อยกล้า ตามงานเพราะกลัวลูกน้องลาออก
ส่วนบัญชีชุดสรรพากรก็จะใช้บริการจากสำนักงานบัญชี ซึ่งในแต่ละเดือนก็จะทำหน้าที่หลักคือ ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มและประกันสังคมให้ งานรายปีคือยื่นภาษีกลางปีและปิดงบประจำปีเพื่อเอาตัวเลขไปยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งแน่นอนการสะสมเอกสารไว้จนปลายปีแล้วค่อยมาปิดบัญชี งบการเงินจึงได้ล่าช้าแบบเส้นยาแดงผ่าแปด อาจจะได้ใน 2-3 วันสุดท้ายก่อนเส้นตายของการยื่นงบ ทำให้ไม่มีเวลาตรวจสอบหรือถึงแม้ตรวจสอบไปก็แก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว ปัญหาก็วนเวียนอยู่แบบนี้ปีแล้วปีเล่า เนื้อร้ายก็อาจจะกำเริบออกมาให้เห็น หนัก-เบา แตกต่างกันไป เช่น อาการหนักคือ ถูกสรรพากรตรวจสอบแล้วให้จ่ายภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับมหาโหด หรือไปเจอว่าลูกน้องคนขยันโกงเงินเป็นเวลาหลายปีแล้วหรือมีลูกหนี้คงค้างจำนวนมากแต่ไม่รู้ตัวเพราะบัญชีไม่ Up to Date เลยตามสถานการณ์ไม่ทัน
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเรามาตั้งหลักใหม่ให้ถูกวิธี ด้วยการทำบัญชีชุดเดียว บนโปรแกรมบัญชีออนไลน์
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเรามาตั้งหลักใหม่ให้ถูกวิธี ด้วยการทำบัญชีชุดเดียว บนโปรแกรมบัญชีออนไลน์
1.เริ่มต้นด้วยการใช้ระบบบัญชีบน Cloud ที่สามารถบันทึกหรือเลือกดูข้อมูลได้จากหลากหลายอุปกรณ์ (PC, Mobile, Laptop, Tablet) และจากมุมไหนของโลกก็ได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
2.งานจากทุกฝ่าย (ฝ่ายขาย จัดซื้อ Store ฯลฯ) สามารถบันทึกบนโปรแกรมเดียวกันหรือโปรแกรมอื่นที่สามารถโอนข้อมูล มายังโปรแกรมบัญชีได้เลยโดยไม่ต้องมาบันทึกซ้ำ ทำให้ได้ข้อมูล ที่เป็นปัจจุบัน ลดงานซ้ำซ้อน
3.ฝ่ายบัญชีก็มีงานเบาบางลงเพราะไม่ต้องบันทึกงานซ้ำซ้อน เพียงแต่ตรวจสอบและใส่รหัสบัญชี และปรับระบบให้นักบัญชีฝีมือดีที่เป็นคนรุ่นใหม่จะเลือกทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเข้างาน 8 โมงเช้าและต้องทนนั่งแช่ถึง 5 โมงเย็น ขอให้งานเสร็จตามกำหนดเท่านั้น เพื่อจูงใจให้เขาทำงานกับเรานานๆ
4.ผู้บริหารก็สามารถเรียกดูตัวเลข รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ ค้างชำระ หรือแม้กระทั่งงบกำไรขาดทุนได้เองจากที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้ และมีตัวเลขที่เป็นปัจจุบันทันต่อการตัดสินใจ
5.ส่วนสำนักงานบัญชีก็สามารถออนไลน์เข้ามาตรวจเอกสาร เพื่อนำไปยื่นภาษีอย่างครบถ้วนถูกต้องและสามารถปิดตรวจสอบและบัญชีให้ได้ทุกเดือนโดยไม่ต้องเสียเวลาบันทึกซ้ำจึงทำให้ ปิดงบได้รวดเร็วตอนสิ้นปี มีเวลาให้ผู้บริหารตรวจสอบก่อนยื่นเสียภาษี
6.กรมสรรพากรก็สบายใจได้เป้าของผู้เสียภาษีที่ทำบัญชี ชุดเดียวตามนโยบาย
จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคดิจิทัลแท้ที่จริงแล้วสามารถเอื้อประโยชน์และช่วยแก้ปัญหาการจัดการด้านบัญชีที่เรื้อรังมาเป็นเวลานานได้อย่างสิ้นเชิงเพียงแต่รอให้เรานับหนึ่งในก้าวแรกของการเริ่มต้นปฏิวัติการทำบัญชีของเราเท่านั้น
K SME Inspired #54 Page 30-32
สามารถอ่านบทความอื่นได้ที่ https://www.thaiaccounting.com/article
วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561
จ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ มีภาระภาษีอะไรบ้าง?
จ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ มีภาระภาษีอะไรบ้าง?
วารสาร K SME Inspired ฉบับ กันยายน 2561
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ
จ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ มีภาระภาษีอะไรบ้าง?
ความน่าสนใจ
- ในการทําธุรกรรมระหว่างประเทศ อาจจะมีการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศ
- ค่าบริการใดบ้างที่เข้าข่าย จะต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย หรือ ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ตรวจสอบให้ดีจะได้ไม่ผิดต่อกฎหมาย และไม่เสียผลประโยชน์เพราะบางประเทศอาจมีข้อยกเว้น หรือ ลดอัตราภาษี
การทําธุรกรรมระหว่างประเทศ อาจจะมีการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศ ซึ่งสิ่งที่จะต้องคํานึงถึงก็คือ ค่าบริการเหล่านั้น จะต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย หรือต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
กรณีนี้ขอกล่าวถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อน จากประสบการณ์ที่เคยเจอ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่ในความเป็นจริงนั้น จะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่า
- จ่ายไปยังประเทศใด
- จ่ายค่าบริการประเภทไหน
วิธีดูการหักภาษี ณ ที่จ่ายสําหรับการจ่ายค่าบริการ ให้ดูที่กฎหมายหลักก่อน คือมาตรา 70 ซึ่งมีใจความว่า
มาตรา 70
“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3){4}(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
การเสียภาษีกรณีนี้ กฎหมายให้เสียโดยวิธีหักภาษี คือ
- ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องหักภาษี จากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามวิธีการ และอัตราดังหัวข้อถัดไป
- ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็ตาม ภาษีที่หักไว้ในกรณีนี้เป็นภาษีที่เสียเด็ดขาด จึงเสร็จสิ้นเป็นรายครั้งไป”
ในการพิจารณาเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศนั้น
1 คือต้องพิจารณาว่า ค่าบริการนั้น จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) จนถึง (6) หรือไม่ ถ้าหลุดจาก 5 ประเภทนี้แล้ว
= ไม่ต้อง หัก ณ ที่จ่าย
2 แต่ถ้าตกอยู่ใน 5 ประเภทนี้ ยังต้อง พิจารณาต่อว่ากิจการของคู่ค้ารายนั้น ตั้งอยู่ในประเทศที่มีการจดอนุสัญญาภาษีซ้อนกับเราหรือไม่
= ถ้ามี อาจจะได้รับยกเว้น หรือลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย
สําหรับเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็แค่พิจารณาว่าผลของงานบริการนั้นได้ถูกใช้ ในประเทศไทยหรือไม่
ถ้าคําตอบคือใช่ ก็ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่าง
1.การจ่ายค่าโฆษณา
ถ้าบริษัทในประเทศไทยมีการจ่ายค่าโฆษณาใน Search Engine ให้กับบริษัท G. ในต่างประเทศ เรามาพิจารณาว่า ค่าโฆษณาจัดอยู่ในเงินได้ประเภทใด?
คําตอบคือ ค่าโฆษณา จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งไม่ได้ถูกระบุอยู่ในมาตรา 70 ดังนั้น การจ่ายค่าโฆษณาดังกล่าวจึงไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และจึงไม่ต้องพิจารณาต่อว่า คู่ค้านั้นตั้งอยู่ในประเทศใด
ส่วนในการพิจารณาเกี่ยวกับการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ให้พิจารณาว่า
บริการดังกล่าวนั้น ให้บริการในต่างประเทศ แต่มีการส่งผลของการให้บริการมาใช้ในประเทศไทยหรือไม่
แนววินิจฉัยอันน่ารักของกรมสรรพากรก็คือ
การโฆษณาบน Search Engine นั้น แน่นอนต้อง มีคนในประเทศไทยเห็น จึงถือว่าเป็นบริการ ในต่างประเทศที่นำผลของการบริการมาใช้ในราชอาณาจักร ดังนั้น
- บริษัทผู้จ่ายเงินได้นี้ ต้องนําส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของค่าบริการ ในนามของบริษัทในต่างประเทศ ด้วยแบบฟอร์ม ภ.พ.36
- แต่ในขณะเดียวกันบริษัทผู้จ่ายเงินได้ก็สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
2 การจ่ายค่า Software
บริษัทในไทยซื้อ Software บัญชี จากคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา = Software บัญชี จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(3) ค่าสิทธิ
- ผู้จ่ายเงินได้นี้จึงมีภาระในการหัก ณ ที่จ่าย 15% ตามมาตรา 70
- แต่ยังจ่ายเลยไม่ได้ ต้องมาดูต่อว่า ประเทศสหรัฐฯ นั้นมีการจดอนุสัญญา ภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่
ซึ่งในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรระบุว่ามีจดกันไว้ ฉะนั้นก็ต้องไปดูต่ออีกว่าในอนุสัญญาภาษีซ้อนที่จดไว้กับประเทศสหรัฐฯ นั้น เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Software ไว้อย่างไร
ปรากฏว่าเขาระบุว่าถ้าจ่ายค่า Software ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพียง 5%
ดังนั้น ในกรณีนี้
- บริษัทผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
จากค่าบริการแล้วนําส่งกรมสรรพากรด้วย ภงด.54
- แต่ถ้าคู่ค้าของเราอยู่ในประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย
ก็จะต้องโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายไป 15% เต็มๆ
ทีนี้มาดูกันว่าจะต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ก็พิจารณาว่าบริการนั้นได้ถูกนํามาใช้ ในประเทศไทยหรือไม่
แน่นอน คําตอบคือ Software นั้นถูกนํามาใช้ในประเทศไทย ดังนั้น บริษัทผู้จ่ายเงินได้นี้
ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของค่าบริการในนามของบริษัทในต่างประเทศด้วยแบบฟอร์ม ภ.พ.36 แต่ในขณะเดียวกันบริษัทผู้จ่ายเงินได้ก็สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้เช่นกัน เส้นตายของการนําส่งภาษีทั้ง 2 ประเภทนั้น คือภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
จะเห็นได้ว่าการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ต้องระวังและเช็คให้ถี่ถ้วนว่ามีภาระภาษีอะไร อย่างใดบ้าง ซึ่งการตีความว่าเงินที่จ่ายนั้นเป็นเงินได้ประเทศใดหรือการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญาภาษีซ้อน เป็นเรื่องที่ซับซ้อนควรจะต้องปรึกษาคนในวิชาชีพที่มีประสบการณ์ช่วยแนะนําให้จะปลอดภัยกว่า :
K SME Inspired #53 Page 29-32
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)